เมนู

พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

ปราสาทซึ่งมีเรือนยอดฉาบทาแล้วทั้งภายในและภายนอก ลมเข้าไม่ได้ มีกลอน
แน่น มีประตูและหน้าต่างปิดสนิทดี ในเรือนยอดนั้น มีบัลลังก์ที่ลาดด้วยผ้าพรม
ขนสัตว์ ลาดด้วยเครื่องลาดทำด้วยขนแกะสีขาว ลาดด้วยขนสัตว์ซึ่งทำเป็นรูป
ดอกไม้ มีเครื่องลาดอย่างดีทำด้วยหนังชะมด มีเพดานกั้นอยู่เบื้องบน มีหมอน
แดงวางไว้ 2 ข้าง ลำดับนั้น บุรุษผู้มีร่างกายถูกความร้อนแผดเผา ครอบงำ
เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวกระหาย เดินมุ่งมายังปราสาทนั้นแลโดยหนทาง
สายเดียว บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า 'บุรุษผู้เจริญนี้ปฏิบัติ
อย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้วจักมายังปราสาทนี้นั่นแล' ต่อมา
บุรุษผู้มีตาดีพึงเห็นเขานั่งหรือนอนบนบัลลังก์นั้น ที่เรือนยอดในปราสาทนั้น เสวย
สุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน กำหนดรู้ใจของบุคคล
บางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า 'บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และ
ดำเนินทางนั้นหลังจากตายแล้วจักไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์' ต่อมา เราเห็นเขาหลังจาก
ตายแล้วไปเกิดในสุคติโลกสวรรค์ เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว ด้วยตาทิพย์อันบริสุทธิ์
เหนือมนุษย์
เรากำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า 'บุคคลผู้ปฏิบัติ
อย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้วจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญา-
วิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน'
ต่อมา เราเห็นบุคคลนั้นผู้ทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะ
อาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เสวยสุขเวทนาโดย
ส่วนเดียว
สระโบกขรณี มีน้ำใส จืดสนิท เย็น สะอาด มีท่าเทียบ น่ารื่นรมย์ และในที่
ไม่ไกลสระโบกขรณีนั้น ก็มีแนวป่าทึบ ลำดับนั้น บุรุษผู้มีร่างกายถูกความร้อน
แผดเผา ครอบงำ เหน็ดเหนื่อย สะทกสะท้าน หิวกระหาย เดินมุ่งมายังสระ
โบกขรณีนั้นแล โดยหนทางสายเดียว บุรุษผู้มีตาดีเห็นเขาแล้วจะพึงกล่าวอย่างนี้ว่า
'บุรุษผู้เจริญนี้ ปฏิบัติอย่างนั้น เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้วจักมาถึง
สระโบกขรณีนี้นั่นแล' ต่อมา บุรุษผู้มีตาดีพึงเห็นเขาลงสู่สระโบกขรณีนั้น แล้วอาบ
และดื่ม ระงับความกระวนกระวาย ความเหน็ดเหนื่อยและความร้อนหมดแล้วขึ้นไปนั่ง
หรือนอนที่แนวป่านั้น เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว แม้ฉันใด เราก็ฉันนั้นเหมือนกัน
กำหนดรู้ใจของบุคคลบางคนในโลกนี้ด้วยใจอย่างนี้ว่า 'บุคคลนี้ปฏิบัติอย่างนั้น

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :156 }


พระสุตตันตปิฎก มัชฌิมนิกาย มูลปัณณาสก์ [2. สีหนาทวรรค] 2. มหาสีหนาทสูตร

เป็นไปอย่างนั้น และดำเนินทางนั้นแล้วจักทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มี
อาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญาอันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน' ต่อมา เราเห็น
เขาทำให้แจ้งเจโตวิมุตติ ปัญญาวิมุตติ อันไม่มีอาสวะเพราะอาสวะสิ้นไป ด้วยปัญญา
อันยิ่งเอง เข้าถึงอยู่ในปัจจุบัน เสวยสุขเวทนาโดยส่วนเดียว
คติมี 5 ประการนี้แล
บุคคลใดพึงว่ากล่าวเราผู้รู้อยู่ เห็นอยู่อย่างนี้ว่า 'สมณโคดมไม่มีญาณทัสสนะ
ที่ประเสริฐอันสามารถ วิเศษยิ่งกว่าธรรมของมนุษย์ สมณโคดมแสดงธรรมที่
ประมวลมาด้วยความตรึก ที่ไตร่ตรองด้วยการค้นคิด แจ่มแจ้งได้เอง' บุคคลนั้น
ไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ในนรกเหมือน
ถูกนำไปฝังไว้ อุปมาเหมือนภิกษุผู้สมบูรณ์ด้วยศีล สมบูรณ์ด้วยสมาธิ สมบูรณ์ด้วย
ปัญญา พึงยินดีอรหัตตผลในปัจจุบันนั่นแล ฉันใด เราก็กล่าวอุปไมยนี้ฉันนั้น
บุคคลนั้นไม่ละวาจานั้น ไม่ละความคิดนั้น ไม่สลัดทิ้งทิฏฐินั้น ย่อมดำรงอยู่ใน
นรกเหมือนถูกนำไปฝังไว้

พรหมจรรย์มีองค์ 4

[155] สารีบุตร เรารู้ยิ่งความประพฤติพรหมจรรย์1มีองค์ 4 คือ
1. เราเป็นผู้บำเพ็ญตบะ และเป็นผู้บำเพ็ญตบะอย่างยอดเยี่ยม
2. เราเป็นผู้ประพฤติถือสิ่งเศร้าหมอง และเป็นผู้ประพฤติถือสิ่ง
เศร้าหมองอย่างยอดเยี่ยม

เชิงอรรถ :
1 พรหมจรรย์ หมายถึงความประพฤติประเสริฐ มีนัย 12 ประการ คือ (1) ทาน การให้ (2) ไวยาวัจจะ
การขวนขวายช่วยเหลือ (3) ปัญจสิกขาบท ศีลห้า (4) พรหมวิหาร การประพฤติพรหมวิหาร (5)ธรรม-
เทศนา (6) เมถุนวิรัติ การงดเว้นจากการเสพเมถุน (7) สทารสันโดษ ความยินดีเฉพาะคู่ครองของตน
(8) อุโปสถังคะ องค์อุโบสถ (9) อริยมรรค ทางอันประเสริฐ (10) ศาสนาที่รวมไตรสิกขา (11) อัธยาศัย
(12) วิริยะ ความเพียร แต่ในที่นี้หมายถึงวิริยะ เหตุที่ตรัสพรหมจรรย์นี้ เพราะสุนักขัตตะโอรสเจ้าลิจฉวี
เป็นผู้มีความเชื่อว่า 'บุคคลจะบริสุทธิ์ได้ด้วยการประพฤติทุกกรกิริยา' ทรงมุ่งขจัดความเชื่อนั้น (ม.มู.อ.
1/155/362-364)

{ที่มา : โปรแกรมพระไตรปิฎกภาษาไทย ฉบับมหาจุฬาลงกรณราชวิทยาลัย เล่ม : 12 หน้า :157 }